วันจันทร์ที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2551

ปลาหมอสีที่ข้ามสายพันธุ์


ถ้าถามว่าปลาหมอสีมีสายพันธุ์อะไรบ้างที่นิยมนำมาข้ามสายพันธุ์ในบ้านเรา หลายๆคนที่อยู่ในวงการนี้คงไม่แปลกใจแต่อย่างใด แต่สำหรับคนที่เพิ่งเข้าวงการอาจจะแปลกใจสักเล็กน้อยว่าที่มาของปลาหมอสีที่สวยงามต่างๆที่ มีให้เห็นอยู่ในขณะนี้มีต้นกำเนิดมากจากไหน?? ซึ่งจะขอเริ่มจาก เรด เท็กซัส
1.เท็กซัสแดง(Red Texas) เป็นปลาที่ผสมข้ามสายพันธุ์ที่ได้รับความนิยมมาโดยตลอด เนื่องจากเป็นปลาที่มีลักษณะเด่นคือ ลำตัวมีสีแดงสลับกับสีขาวเป็นลสดลายสวยงาม ซึ่งมีเกิดจากการผสมข้่ามสายพันธุ์กันระหว่าง เท๊กซัสเขียว(Herichthys carpinte) ผสมข้ามสายพันธุ์กับปลามีสีพื้นแดงอเมริกา หรือปลาพื้นแดงที่ข้ามสายพันธุ์มาแล้ว โดยทั่วไปมักจะนิยมผสมข้ามสายพันธุ์
2.ฟลาวเวอร์ ฮอร์น(Flower Horn) เป็นปลาผสมข้ามสายพันธุ์ที่มีต้นกำเนิดจากประเทศมาเลเซีย เริ่มเข้ามาในประเทศไทยประมาณปลายปี 2543 และได้รับความนิยมสูงสุดในปี 2544 Flower Horn จัดเป็นปลาที่มีความสวยงามมากมีลักษณะเด่นต่างๆที่ทำให้ผู้เลี้ยงปลาหมอสีบ้านเราเกิดความนิยมทั้งในรูปทรงและสีสัน โดยลักษณะนิสัยของ Flower Horn ค่อนข้างดุ รักและหวงถิ่นที่อยู่อาศัย กินอาหารได้บ่อยครั้งเจริญเติบโตได้ค่อนข้างเร็ว

วันเสาร์ที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2551

สาเหตุที่ปลาเป็นโรค


โรคปลาหมอสีก็เหมือนกับปลาสวยงามตัวอื่น ๆ เช่น ปลากัด ออสการ์ ฯลฯ สำหรับสาเหตุของการเกิดโรคที่สำคัญ ๆ มีดังนี้
1. นิสัยของตัวปลา ปลาในตระกูลเดียวกันมีพฤติกรรมต่างกัน บางตัวกินเนื้อ บางตัวกินพืช ถ้านำปลากินเนื้อมาเลี้ยงรวมกับปลากินพืชจะกัดกันและพฤติกรรมก้าวร้าว อาจทำให้อีกตัวหนึ่งหางขาดจึงต้องพิจารณาด้วยว่าเลี้ยงถูกต้องกลุ่มหรือไม่
2. ขนาดของปลา ถ้าขนาดแตกต่างกันมาก ปลาใหญ่จะกัดปลาเล็ก ควรคัดปลาให้มีขนาดใกล้เคียงกัน อัตราส่วนการปล่อยพ่อแม่เพื่อผสมพันธุ์เหมาะสม เพื่อมิให้เกิดการกัดกันเพราะแย่งตัวเมีย
3. พฤติกรรมผู้เลี้ยง ประชาชนส่วนใหญ่เข้าใจว่าปลาหมอมีความอดทน การให้อาหารสดทำให้น้ำเน่าเสีย บางฟาร์มสกปรกจะนำเชื้อแบคทีเรีย เชื้อรามาแพร่ระบาด จึงต้องรักษาความสะอาด มิฉะนั้นปลาจะเครียดและมีโอกาสเป็นโรคสูง
4. ตัวเชื้อโรค โรคเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย พยาธิภายในและพยาธิภายนอก ปลาที่ได้รับเชื้อแบคทีเรีย อาการป่วยคล้ายกันคือ ตกเลือดตามตัวซอกเกล็ด โดยเฉพาะปลาสีจะไม่เข้มดังนั้นผู้เลี้ยงต้องมีการสังเกต หากมีบาดแผลตามลำตัวเป็นจุดแดง ๆ ครีบกร่อน ฯลฯ ถ้าเชื้อแบคทีเรียเกาะตามครีบ ทำให้ครีบกร่อน หรือครีบเปื่อย หางกร่อนและแตกเป็นซี่ ตาขุ่น ตาเปลี่ยนเป็นสีขาวขุ่นเหมือนตาเป็นต้อ ตาบอด การรักษาที่ไม่ถูกต้อง
ปลาจะมีลักษณะท้องบวมขยายใหญ่ขึ้น
1. มีน้ำในช่องท้อง จะมีน้ำเลือดปนน้ำเหลืองภายในช่องท้อง
2. อวัยวะภายในขยายใหญ่ ตัวด่างขาว
3. สีตัวเข้มหรือดำมากขึ้น เกิดจากการติดเชื้อ
ข้อสังเกต
ปลาป่วยจะขึ้นมาลอยตัวตามผิวหน้าน้ำเพื่อฮุบอากาศ จะกินอาหารลดลงเพราะถูกเชื้อแบคทีเรียทำลายไม่กินอาหารและตายในที่สุด ปลาหมอสีที่ได้รับเชื้อแบคทีเรียจะมีลักษณะแผลหลุมลึกอวัยวะภายในเน่า ท้องบวม ปลายครีบเปื่อย ปลาไม่ค่อยกินอาหารเนื่องจากติดเชื้อวัณโรค ปลาซึ่งการรักษาใช้เวลานานและไม่คุ้มค่าใช้จ่าย ส่วนใหญ่ใช้วิธีกำจัดปลามิให้แพร่เชื้อ หากเปิดภายในจะเห็นตุ่มสีขาว ท้องบวม ช่องขับถ่ายบวมแดง ครีบต่าง ๆ เปื่อยสีซีดลง ถ้ามีสีเข้มขึ้น (สีฟ้าจะเป็นสีดำ) หางเปื่อย ปลายครีบต่าง ๆ เปื่อย มีอาการอักเสบแผลหนองเน่าในกล้ามเนื้อ ลักษณะหางขาดอาจเกิดจากปลากัดกัน และมีเชื้อแบคทีเรียร่วมด้วยทำให้ปลาตายได้ ลักษณะเด่นคือตาบวมใหญ่ (ตาโปน) ตาขุ่นขาว (ตาบอด) เนื่องจากเชื้อแบคทีเรียเข้าสู่ตา

วันอาทิตย์ที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

การเตรียมตัวก่อนเลี้ยงปลาหมอสี

ปลาหมอสีเป็นปลาน้ำจืดจัดอยู่ในวงศ์ Cichlidae พวกเดียวกับปลานิล ปลาหมอเทศ ปลา ออสการ์ ปลาปอมปาดัวส์ เป็นปลาที่เลี้ยงได้ง่าย อดทน มีพฤติกรรมที่หลากหลาย ถ้าผู้เลี้ยงไม่เข้าใจพฤติกรรมของปลาหมอสีก็จะทำให้ตายได้ง่าย ฉะนั้น ก่อนเลี้ยงก็ควรศึกษาหาอ่านจากตำราการเลี้ยงปลาหมอสีก่อน ซึ่งปัจจุบันนี้มีหนังสือเกี่ยวกับปลาหมดสีทั้งเป็นภาษาไทยและภาษาอังกฤษอยู่มากมาย ผู้เลี้ยงที่เพิ่งเริ่มต้นก็หาซื้อปลาที่มีราคาถูกหน่อยเลี้ยงหาประสบการณ์ก่อนแล้วค่อยไปซื้อชนิดราคาแพงเมื่อมีความสามารถมากขี้นแล้ว
หลักทั่วไปในการเลี้ยงหมอสีก็เหมือนกันกับการเลี้ยงปลาอื่นๆ คือ
1. น้ำต้องสะอาดไม่ควรมีเชื้อโรค ห้ามใช้น้ำประปาที่เปิดจากก๊อกน้ำโดยตรง เฉพาะคลอรีนและปูนที่อยู่ในน้ำจะฆ่าปลาได้ในเวลาอันรวดเร็วควรพักน้ำประปาไว้สัก 2-3 วันจึงนำมาใช้
2. ใช้เครื่องกรองน้ำซึ่งหาซื้อได้ตามร้านทั่วไปเลือกให้เหมาะกับขนาดของตู้
3. ขนาดของตู้เลี้ยงควรจะใหญ่สักหน่อย ถ้าเลี้ยงพวกหมอสีพันธุ์เล็ก ความยาวของตู้ไม่ควรต่ำกว่า 24 นิ้ว ถ้าเป็นพันธุ์ใหญ่ก็ไม่ควรต่ำกว่า 36 นิ้ว ควรมีสัก 2 ตู้ เพื่อเป็นตู้พักปลา 1 ตู้ ตู้เลี้ยง 1 ตู้
4. อาหารปลาหมอสีกินอาหารสำเร็จรูปได้ดี ซึ่งเราหาซื้อได้ทั่วไปแต่ถ้าที่บ้านใกล้แหล่งเพาะยุงหรือใกล้บริเวณที่มีลูกน้ำลูกไรมาก และหาได้สะดวกก็ให้ลูกน้ำ ลูกไร เป็นอาหารจะดีมากทั้งประหยัดเงินและมีอาหารที่มีคุณค่าดี
5. ก้อนหิน ก้อนกรวด พันธุ์ไม้น้ำที่เราคิดว่าจะจัดลงไปในตู้นั้นควรจะทำความสะอาดให้ดี ก้อนหินก็ควรจะแช่น้ำลดความเป็นด่างลงพันธุ์ไม้น้ำก็ควรจะพักไว้ในถังหรือตู้อื่นๆ รอจนมันฟื้นตัวได้แล้วค่อยนำมาจัดในตู้6. ตู้ปลาควรจะตั้งอยู่ใกล้กับที่พักน้ำเพื่อเปลี่ยนน้ำในตู้ปลาได้สะดวก ปัญหานี้ดูเหมือนเล็กแต่ก็มีหลายๆรายที่เลิกเลี้ยงปลา เพราะต้องเปลี่ยนน้ำในตู้ปลาบางรายถึงขั้นทะเลาะกันเพราะเกี่ยงกันเปลี่ยนน้ำตู้ปลา บางรายถูกคำสั่งห้ามเลี้ยงหลังจากการเปลี่ยนน้ำตู้ปลาผ่านไปไม่ถึงครึ่งชั่วโมง เพราะขณะเปลี่ยนน้ำตู้ปลาบริเวณระหว่างที่พักน้ำกับตู้ปลาจะกลายเป็นเขตอันตรายสูงสุดต่อชีวิตของคนแก่และเด็ก รวมทั้งสตรีมีครรภ์ไปในทันที การลื่นหกล้มในบริเวณนี้จะเกิดขึ้นบ่อยมาก
7. เวลา ถ้าคุณต้องออกจากบ้านตั้งแต่ตีห้าครึ่งและกลับถึงบ้านประมาณไม่ถึงสี่ทุ่มดีในวันปกติ วันเสาร์ต้องตื่นสิบโมงเช้าเพื่อนอนชดเชยพอตื่นก็ต้องทำงานบ้านจิปาถะที่ค้างตั้งแต่จันทร์-ศุกร์ แล้วก็ขอแนะนำว่าไปปลูกต้นไม้ดีกว่าเพราะปลาที่คุณเลี้ยงไว้นั้นมันพากันตายหมดแล้ว ก่อนเลี้ยงปลาต้องถามตัวเองก่อนว่ามีเวลาไหม และคนรอบข้างจะยินดีไหมที่คุณจะเลี้ยงปลา เพราะคนรอบข้างนั้นก็คือคนงานของคุณขณะเปลี่ยนน้ำตู้ปลา ถ้าเกิด คนงานสไตรท์ขณะเปลี่ยนน้ำไปได้ครึ่งเดียว ภาระทั้งหมดก็จะอยู่ที่คุณคนเดียวจริงๆ

วันพุธที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

การเพาะเลี้ยงปลาหมอสี


- ปลาหมอสีเป็นปลาสวยงามอีกกลุ่มหนึ่ง ซึ่งได้รับการตอบรับอย่างอบอุ่น จากนักเลี้ยงปลาทั้งมืออาชีพและมือสมัครเล่นเป็นงานอดิเรกถึงแม้ว่าปลากลุ่มนั้นส่วนใหญ่เป็นปลานำเข้าจากทวีปแอฟริกา ทวีปอเมริกาใต้และกลุ่มประเทศอเมริกากลาง จัดอยู่ในวงศ์ชิลคลิดี การแพร่กระจายของปลาวงศ์นี้ขึ้นอยู่กับความแตกต่างของสิ่งแวดล้อมดังเช่น ลักษณะภูมิประเทศประกอบด้วยทะเลสาบ แม่น้ำลำธาร หนองบึง จึงส่งผลให้ปลามีความหลากหลายทั้งชนิด สายพันธุ์ รูปร่าง และการดำรงชีวิต ซึ่งมีทั้งปลาบริโภคและปลาสวยงาม ได้แก่ ปลานิล ปลาหมอเทศ ปลาปอมปาดัวร์ ปลาเทวดา ปลาออสการ์ ฯลฯ ปลาเหล่านี้สามารถปรับตัวได้ดี จัดเป็นปลาเลี้ยงง่าย
- เกี่ยวกับแหล่งกำเนิดปลาหมอสีนั้น คุณสมโภชน์ อัคคะทวีวัฒน์ ผู้เชี่ยวชาญด้านอนุกรมวิธานสัตว์น้ำ กรมประมง ได้กล่าวไว้ในหนังสืออนุกรมวิธานปลาหมอสีในประเทศไทยและได้ฝากบอกมายังท่านสมาชิกวารสารอีกว่า ก่อนตัดสินใจเลี้ยงปลาหมอสีจะต้องศึกษาข้อมูลหลายประการ เนื่องจากการเลี้ยงปลาสวยงามเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ เช่น ชนิดของปลาหมอสี พฤติกรรม ถิ่นกำเนิด น้ำ แสงสว่าง อาหาร และการตกแต่งตู้ เพราะปลาหมอสีมาจากแหล่งที่มีความหลากหลายทั้งทางด้านกายภาพและชีวภาพ ปลาหมอสีที่เลี้ยงในบ้านเรา ส่วนใหญ่มาจากทะเลสาบมาลาวีและแทนแกนยีกา ปลาที่มาจากทะเลสาบเดียวกันควรอยู่ในตู้เดียวกัน ถ้าแบ่งกลุ่มเลี้ยงเป็นตู้ฯ ก็จะสะดวกในการดูแล เพราะปลาแต่ละกลุ่มกินอาหารแตกต่างกัน สิ่งสำคัญอีกประการหนึ่งก็คือ ด้านใดด้านหนึ่งของตู้ปลาต้องทาด้วยสีดำหรือสีน้ำเงินปนดำหรือใช้กระดาษหรือฟิล์มปิดแทนก็ได้เพื่อช่วยลดความเครียด เพราะเมื่อปลาหมอสีตื่นตกใจก็จะหลบอยู่ในมุมที่มีแสงสว่างน้อย
1.ขนาด ตู้เลี้ยงปลาควรมีขนาดใหญ่ ความจุไม่น้อยกว่า 500 ลิตร แต่ถ้ามีตู้เล็กก็แยกเลี้ยงเพียงตู้ละหนึ่งตัวตู้ด้านบนมีฝาปิดเพื่อป้องกันการระเหยของน้ำ และช่วยให้อุณหภูมิของน้ำไม่เปลี่ยนแปลงมากนัก
2.แสงสว่าง ควรให้แสงสว่างที่เหมาะสม หากแสงสว่างมากเกินไปจะทำให้ปลาไม่ออกสี ควรหลีกเลี่ยงแสงแดดโดยตรง
3.การตกแต่ง ปัจจุบันวัสดุที่ใช้ในการตกแต่งได้มีการเลียนแบบธรรมชาติ เช่น ก้อนหินทำจากไฟเบอร์กลาส ถ้าใช้ของจริงควรเลือกใช้วัสดุที่เบาและไม่มีสารพิษละลายน้ำได้ อาจใช้กรวดหรือทรายธรรมชาติล้างให้สะอาด แช่น้ำทิ้งไว้หลาย ๆ วัน เพื่อชำระล้างสิ่งสกปรก ที่ติดมากับหินและทรายให้หมด หากใช้ก้อนหินจริงที่มีขนาดใหญ่วางบนพื้นทราย ปลาจะขุดคุ้ยทรายและทำให้ก้อนหินล้มลงกระทบกระจกตู้ปลาแตกเสียหายได้
4.น้ำเลี้ยงปลา น้ำในทะเลสาบมาลาวีมีค่าความเป็นกรดเป็นด่างเฉลี่ยประมาณ 8.8 ฉะนั้นน้ำไม่ควรอยู่ในช่วง 7.0 -8.5 อุณหภูมิปกติ 23-28 องศาเซลเซียส ปลาจากทะเลสาบแทนแกนยีกา ควรมีค่าของน้ำระหว่าง 7.8 - 9.5 ปัจจุบันร้านจำหน่ายอุปกรณ์การเลี้ยงปลาสวยงามมีเกลือที่ใช้ปรับค่าความเป็นกรดเป็นด่างของน้ำได้ ส่วนปลาที่มาจากทะเลสาบวิกตอเรีย อเมริกากลางและอเมริกาใต้ไม่มีปัญหาเรื่องความเป็นกรดเป็นด่างและอุณหภูมิของน้ำ ข้อควรระวัง ปลาที่นำเข้ามาทุกครั้งก่อนปล่อยลงตู้หรือบ่อเลี้ยงควรวัดค่าความเป็นกรดเป็นด่างของน้ำในถุงด้วย ถ้ามีความแตกต่างกับน้ำในตู้ปลาควรปรับให้มีค่าใกล้เคียงกันมากที่สุด ซึ่งทำง่ายโดยใช้กระดาษลิตมัส
5.อาหาร ปลาหมอสีสามารถปรับตัวได้ดีกินอาหารได้ทุกประเภท แต่ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีส่วนผสมไขมันจากเนื้อสัตว์ เพราะไขมันจะไปทำลายตับของปลาเหล่านี้ ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ปลาที่เลี้ยงตาย ฉะนั้นอาหารที่ใช้เลี้ยงควรมีส่วนผสมที่ใกล้เคียงกับอาหารธรรมชาติมากที่สุด ปลาหมอสีกินพืช ควรเลี้ยงอาหารปลากินพืช พวกปลากินสัตว์ เช่น กุ้ง ไรน้ำเค็ม หรืออาหารสำเร็จรูปที่ใช้เลี้ยงกับอาหารสำเร็จรูปที่ใช้โดยทั่วไปควรมีส่วนประกอบของกากถั่ว กุ้ง สาหร่ายเกลียวทอง ปริมาณอาหารไม่ควรให้เกินความต้องการของปลา จะทำให้ปลาอ้วนและอ่อนแอ ในกรณีเลี้ยงเพื่อการเพาะพันธุ์ ถ้าให้อาหารมากเกินไปจะทำให้ปลาไม่มีไข่และน้ำเชื้อธรรมชาติของปลาหมอสีเป็นปลาที่อดทน สามารถอดอาหารนับสิบวัน หากท่านไม่อยู่บ้าน 5 - 10 วัน ปลาก็สามารถอยู่ได้อย่างปกติ แม้ว่าในแหล่งน้ำธรรมชาติมีอาหารจำกัด โดยเฉพาะแม่ปลาที่ฟักไข่ด้วยปาก ต้องอมไข่จนไข่ฟักเป็นตัว และอมต่อไปจนกระทั่งลูกปลาสามารถว่ายน้ำออกจากปาก เพื่อหากินอาหารต่อไป ซึ่งใช้เวลาอีก 15-20 วัน ในระยะนี้แม่ปลาจะไม่กินอาหารใด ๆ ทั้งสิ้น
6.พันธุกรรม พันธุกรรมของปลาหมอสีที่มีผลต่อการควบคุมพัฒนาการของลักษณะต่าง ๆ ที่เรียกว่า ยีน การรวมของยีนจะประกอบด้วยยีนจากพ่อและแม่ของสัตว์แต่ละชนิด การผ่าเหล่าจะส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของลักษณะทางพันธุกรรม ซึ่งมีผลแสดงออกมาให้เห็นลักษณะการเปลี่ยนแปลงรูปร่าง ลักษณะทางโครงสร้างและสีสัน เช่น การเกิดเป็นสีเผือก จุดสีหรือจุดสีอื่น ๆ ที่แปลก ออกไป โดยทั่วไปเป็นที่ยอมรับกันว่า กลุ่มปลาหมอสีมีความสำคัญของการจำคู่ของตน แต่อย่างไรก็ตาม ธรรมชาติจะเป็นตัวทำให้เกิดความสมดุลในกลุ่มของมันเอง ในกรณีการเกิดเลือดชิด ก่อให้เกิดปลาชนิดใหม่ท่านสมาชิกและผู้อ่านหนังสือพิมพ์วารสารการประมงได้ทราบเรื่องราวปลาหมอสีมาพอสังเขปบ้างแล้ว แต่ถ้าต้องการรายละเอียดเพิ่มเติมศึกษาได้จากหนังสืออนุกรมวิธานปลาหมอสีในประเทศไทย ในช่วงนี้ขอเชิญไปเยี่ยมชมฟาร์มเพาะเลี้ยงปลาหมอสี พบกับคุณสมขายและคุณสมศักดิ์ หิรัญกรณ์ ซึ่งเริ่มต้นด้วยการเพาะเลี้ยงปลาหมอสีเป็นงานอดิเรก ในช่วงวันหยุดก็จะให้และใช้เวลามาทุ่มเทกับการดูแลปลา นับเป็นการสร้างสัมพันธภาพอันดียิ่งภายในครอบครัว พบกับคุณสมชาย หิรัญกรณ์ได้เลยค่ะ

วันพุธที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

พันธุ์ปลาหมอสี


1. สกุลแอริสโทโครมิส
ลักษณะของจะงอยปากที่เป็นสันนูนขึ้นมาคล้ายดั้งจมูกของชาวกรีก ซึ่งมีเพียง 1 ชนิดคือ ปลาหมอคริสตี้ ลักษณะลำตัวยาวแบนข้างหัวโต หน้ายาว หน้านัยน์ตาหักเป็นมุม แล้วลาดโค้งเข้าหาแนวสันของกะโหลก ตามีขนาดปานกลางคอดหางสั้น ครีบกระโดงที่ส่วนปลายเป็นก้านครีบอ่อนจะยกสูงขึ้นจากแนวของส่วนที่เป็นก้านครีบเดี่ยว ปลายกระโดงมนและยาวจรดโคนหาง ครีบอกและตะเกียบมีขนาดใกล้เคียงกัน ครีบหางมีขนาดใหญ่ ปลายครีบเกือบตัดตรง กินปลาที่เล็กกว่าเป็นอาหาร จุดเด่นของปลาหมอคริสตี้ ในระยะโตเต็มวัยมีหัวสีฟ้าคราม ลำตัวสีน้ำเงินแถบสีดำ ขอบเกล็ดสีดำ ครีบกระโดงส่วนที่เป็นก้านครีบเดี่ยวสีฟ้า ครีบก้นสีเหลือง มีจุดไข่สีฟ้า ตะเกียบสีเหลืองขอบฟ้าครีบอกเหลืองใส ตัวผู้ขนาดโตเต็มที่ความยาวสุด 30 เซนติเมตร การผสมพันธุ์ ตัวเมียอมไข่ไว้ในปาก จนกระทั่งไข่ฟักเป็นตัว ในระยะนี้แม่ปลายังคงดูแลลูกต่อไปอีกเป็นเวลา 1 เดือน การวางไข่แต่ละครั้ง ปลาจะให้ลูกประมาณ 30 ตัว



2.มาลาวีสีน้ำเงินคอแดง
ลำตัวยาวแบนข้างหัวมีขนาดปานกลาง นัยน์ตาโต จะงอยปากสั้น ปากเฉียงขึ้นเล็กน้อย คอดหางเรียวยาว ครีบกระโดงมีความสูงไล่จากจุดเริ่มจนถึงปลายหางมีความลาดเอียงสวยงาม ปลาครีบกระโดงยื่นออกมาจรดส่วนหางครีบก้นมีขนาดใกล้เคียงกับส่วนที่เป็นก้านครีบอ่อนของครีบกระโดง ครีบหางที่ปลายเว้าเล็กน้อย ตะเกียบยาวเลยจุดเริ่มต้นของครีบก้น ครีบอกมีขนาดเล็กที่สุด

3.มาลาวีเหลือง
ลำตัวยาวเรียว หัวมีขนาดปานกลางได้สัดส่วนกับลำตัว ตาโตและโปน ช่วงตาห่างปากเฉียงขึ้นเล็กน้อย คอดหางยาวเรียว ครีบกระโดงมีปลายเรียวยาว ส่วนปลายสุดของกระโดงยาวเกือบจรดปลายหาง ครีบหางเว้า ครีบก้นมีขนาดค่อนข้างใหญ่ตะเกียบใหญ่กว่าครีบอกและปลายตะเกียบยาวเลยจุดเริ่มของครีบหาง ลักษณะเด่นของมาลาวีเหลือง พื้นลำตัวมีสีเหลืองและแถบสีน้ำเงินขวางลำตัว 5-7 แถบ แก้มสีน้ำเงิน กระโดงสีเหลือง มาลาวีเหลืองเป็นปลาขนาดเล็ก ตัวเมียมีขนาดเล็กกว่าตัวผู้กินสัตว์น้ำขนาดเล็กในธรรมชาติเป็นอาหาร การผสมพันธุ์โดยตัวเมียอมไข่ ส่วนการเลี้ยง ผู้เลี้ยงจะให้อาหารสำเร็จรูป




วันอังคารที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

โรคของปลาหมอสี


โรคปลาหมอสี(Disease) มีอยู่ 2-3 ชนิดด้วยกันคือ
1. โรคจุดขาว พบในช่วงหน้าหนาว หรือช่วงที่ฝนตกหนักๆ และมีสภาพอากาศเปลี่ยนแปลง อาการก็คือซึมไม่กินอาหารและจะมีคล้ายๆฝึ่นสีขาวๆเกาะ ซึ่งสาเหตุเกิดจากเชื้อแบคทีเรียที่เกิดในน้ำและยารักษาโรคนี้ก็ใช้ฟาราโพกรีน รักษาซึ่งจะหาซื้อได้ตามร้านขายปลาทั่วไปในยาตัวนี้ภายใน 24 ชม. ปลาจะมีอาการดีขึ้นและช่วง 48 ชม. ปลาก็จัหายเป็นปกติ การใช้ยาตัวนี้นั้นเมื่อใช้ยาควรจะต้องปิดไฟตู้ทุกครั้งเพราะยาตัวนี้จะเสื่อมฤทธิ์เมื่อถูกแสง
2. โรคที่เกิดจากเชื้อรา ซึ่งสาเหตุมาจากปลากัดกันจนเป็นแผลโดยที่เจ้าของไม่ทันสังเกตุเห็นก็จะทำให้เกิดเชื้อราที่มีอยู่ในน้ำนั้นอยู่แล้ว ยาที่ใช้ก็พวกยาเขียว เพราะสามารถกำจัดพวกเชื้อราทั้งหลายได้
3. โรคที่เกิดจากกระเพาะลำไส้อักเสบ เพราะกินอาหารที่มีเชื้อแบคทีเรีย อาหารที่ไม่สดจึงทำให้ระบบการย่อย ผิดพลาดจนเกิดอาหารตกค้าง ซึ่งโรคนี้ถ้าเป็นมากก็จะรักษาไม่ได้นอกจากนี้โรคอื่นๆก็ไม่ค่อยมี เนื่องจากปลาหมอสีเป็นปลาที่มีโรคน้อยมาก

วันจันทร์ที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2551

การเลี้ยงดูปลาหมอสี

การเลี้ยงดู ปลาหมอสีเป็นปลาที่เลี้ยงง่าย มีความ อดทนและกินอาหารง่าย ซึ่งเป็นอาหารจำพวก ไร ทะเล ไรน้ำนางฟ้า หนอนแดง กุ้งฝอย ปลาขนาด เล็ก ไส้เดือน หรืออาหารสำเร็จรูป หากต้องให้ปลา มีสีสันเด่นชัดก็อาจให้อาหารประเภทเร่งสี โดยแนะ นำว่า ไรน้ำนางฟ้าไทย ที่มีสารเบต้าแคโรทีน สามารถเร่งสีปลาหมอสีได้ดีที่สุดในจำนวนอาหาร ปลาทั้งหมด


ปลาหมอสี เป็นปลาที่นิสัยรักหวงถิ่นที่อยู่ และก้าวร้าวจะไล่กัดปลาตัวอื่นๆทันทีที่เข้ามาใกล้ในบริเวณอาณาจักรของตัวเองที่ทำไว้ ดังนั้นการเลี้ยงปลาหมอสีหลายพันธุ์รวมกันในตู้ต้องคำนึงถึงขนาดของปลาด้วย ควรจะมีขนาดใกล้เคียงกัน ตู้ควรมีขนาดใหญ่ และมีก้อนหินจัดวางไม่ควรเลี้ยงรวมกับปลาตระกูลอื่น เช่น ปลาทอง ปลาเทวดา(ปลาในตระกูลปอมปาดัวร์) ฯลฯ