วันเสาร์ที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2551

สาเหตุที่ปลาเป็นโรค


โรคปลาหมอสีก็เหมือนกับปลาสวยงามตัวอื่น ๆ เช่น ปลากัด ออสการ์ ฯลฯ สำหรับสาเหตุของการเกิดโรคที่สำคัญ ๆ มีดังนี้
1. นิสัยของตัวปลา ปลาในตระกูลเดียวกันมีพฤติกรรมต่างกัน บางตัวกินเนื้อ บางตัวกินพืช ถ้านำปลากินเนื้อมาเลี้ยงรวมกับปลากินพืชจะกัดกันและพฤติกรรมก้าวร้าว อาจทำให้อีกตัวหนึ่งหางขาดจึงต้องพิจารณาด้วยว่าเลี้ยงถูกต้องกลุ่มหรือไม่
2. ขนาดของปลา ถ้าขนาดแตกต่างกันมาก ปลาใหญ่จะกัดปลาเล็ก ควรคัดปลาให้มีขนาดใกล้เคียงกัน อัตราส่วนการปล่อยพ่อแม่เพื่อผสมพันธุ์เหมาะสม เพื่อมิให้เกิดการกัดกันเพราะแย่งตัวเมีย
3. พฤติกรรมผู้เลี้ยง ประชาชนส่วนใหญ่เข้าใจว่าปลาหมอมีความอดทน การให้อาหารสดทำให้น้ำเน่าเสีย บางฟาร์มสกปรกจะนำเชื้อแบคทีเรีย เชื้อรามาแพร่ระบาด จึงต้องรักษาความสะอาด มิฉะนั้นปลาจะเครียดและมีโอกาสเป็นโรคสูง
4. ตัวเชื้อโรค โรคเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย พยาธิภายในและพยาธิภายนอก ปลาที่ได้รับเชื้อแบคทีเรีย อาการป่วยคล้ายกันคือ ตกเลือดตามตัวซอกเกล็ด โดยเฉพาะปลาสีจะไม่เข้มดังนั้นผู้เลี้ยงต้องมีการสังเกต หากมีบาดแผลตามลำตัวเป็นจุดแดง ๆ ครีบกร่อน ฯลฯ ถ้าเชื้อแบคทีเรียเกาะตามครีบ ทำให้ครีบกร่อน หรือครีบเปื่อย หางกร่อนและแตกเป็นซี่ ตาขุ่น ตาเปลี่ยนเป็นสีขาวขุ่นเหมือนตาเป็นต้อ ตาบอด การรักษาที่ไม่ถูกต้อง
ปลาจะมีลักษณะท้องบวมขยายใหญ่ขึ้น
1. มีน้ำในช่องท้อง จะมีน้ำเลือดปนน้ำเหลืองภายในช่องท้อง
2. อวัยวะภายในขยายใหญ่ ตัวด่างขาว
3. สีตัวเข้มหรือดำมากขึ้น เกิดจากการติดเชื้อ
ข้อสังเกต
ปลาป่วยจะขึ้นมาลอยตัวตามผิวหน้าน้ำเพื่อฮุบอากาศ จะกินอาหารลดลงเพราะถูกเชื้อแบคทีเรียทำลายไม่กินอาหารและตายในที่สุด ปลาหมอสีที่ได้รับเชื้อแบคทีเรียจะมีลักษณะแผลหลุมลึกอวัยวะภายในเน่า ท้องบวม ปลายครีบเปื่อย ปลาไม่ค่อยกินอาหารเนื่องจากติดเชื้อวัณโรค ปลาซึ่งการรักษาใช้เวลานานและไม่คุ้มค่าใช้จ่าย ส่วนใหญ่ใช้วิธีกำจัดปลามิให้แพร่เชื้อ หากเปิดภายในจะเห็นตุ่มสีขาว ท้องบวม ช่องขับถ่ายบวมแดง ครีบต่าง ๆ เปื่อยสีซีดลง ถ้ามีสีเข้มขึ้น (สีฟ้าจะเป็นสีดำ) หางเปื่อย ปลายครีบต่าง ๆ เปื่อย มีอาการอักเสบแผลหนองเน่าในกล้ามเนื้อ ลักษณะหางขาดอาจเกิดจากปลากัดกัน และมีเชื้อแบคทีเรียร่วมด้วยทำให้ปลาตายได้ ลักษณะเด่นคือตาบวมใหญ่ (ตาโปน) ตาขุ่นขาว (ตาบอด) เนื่องจากเชื้อแบคทีเรียเข้าสู่ตา